01 ตุลาคม 2552

ทีโอทีมอบบัตรโทรศัพท์ให้คนพิการ-ชราภูเก็ต


เมื่อเวลา 14.00 น.วันนี้ (30 ก.ย.) ที่ห้องประชุม บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จ.ภูเก็ต นายณัฐวุฒิ เจตนา ผู้จัดการส่วนบริการลูกค้าจังหวัดภูเก็ต มอบบัตรโทรศัพท์สำหรับกลุ่มคนพิการและคนชราที่มีรายได้ราย ให้กับผู้พิการและผู้สูงอายุผ่านทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อมอบต่อให้กับผู้พิการและผู้สูงอายุ โดยมีนายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นางสาวพรรณี สิทธิการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต และนายสมประสงค์ เอี่ยมสกุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ ร่วมเป็นสักขีพยาน

โดยบัตรโทรศัพท์ที่มอบในวันนี้นั้นเป็นแบบพินโพน 108 จำนวน 3,300 ใบ ในราคาบัตรละ 100 บาท มูลค่า 9,900,000 บาท

นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ลงวันที่ 2 ส.ค. 2548 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2548 เล่มที่ 122 ตอนพิเศษ 58 ง มีสาระสำคัญในข้อ 2.3 ของประกาศดังนี้ “จัดให้มีบัตรโทรศัพท์สำหรับกลุ่มคนพิการ กลุ่มคนชราผู้มีรายได้น้อย กลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเงินจำนวน 100 บาทต่อเดือนต่อคน จำนวนเดือนละไม่เกิน 1 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 30 เดือน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นหน่วยงานผู้มีหน้าที่จัดให้มีบัตรโทรศัพท์สำหรับกลุ่มคนดังกล่าว โดยมีสัดส่วนความรับผิดชอบระหว่างบริษัท ทีโอที และ กสท.โทรคมนาคม ร้อยละ 70 และ 30 ตามลำดับ รวม 1 ล้านใบ

ทั้งนี้ เกณฑ์การพิจารณา คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย โดยลำดับแรกจ่ายให้คนพิการทั้งหมด และลำดับถัดไปจ่ายให้แก่คนชราที่มีรายได้น้อย และกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เริ่มจากกลุ่มผู้มีรายได้น้อยต่ำสุดขึ้นไปในแต่ละจังหวัด ด้วยการนำรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับบัตรประกาศเป็นการทั่วไป โดยผ่านกระบวนการประชาคมของชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีโอกาสใช้สิทธิในการคัดค้านรายชื่อผู้ที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามหลักการของกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมอันจะเป็นประโยชน์ในการสร้างโอกาสให้แก่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในส่วนของคนพิการ คนชราและผู้ที่มีรายได้น้อยที่จะเข้าถึงการติดต่อสื่อสารทางโทรคมนาคม และเป็นการเพิ่มช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร อันจะทำให้คุณภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น